กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๓ 
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๓ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๓ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๓ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๓


การเตรียมความพร้อมรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์

 โลกไซเบอร์กับความมั่นคงของชาติ ( Cyber Space VS National Security ) โดย พลตรี ฤทธี  อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร ความมั่นคง ( Security ) กล่าวโดยทั่วไปมักจะหมายถึง ความอยู่รอด ปลอดภัย และเสถียรภาพ ความคงอยู่ รวมถึง ศักยภาพ ความพร้อม ความเชื่อมั่นเชื่อถือในด้านการปกป้อง คุ้มครอง และตอบโต้กับภัยภยันตราย หรือภัยคุกคามต่างๆ ทั้งทางด้านรูปธรรมและนามธรรม การพัฒนาด้านเทคโนโลยีนั้น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ เพื่อการเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ในด้านทางบวกเพื่อก่อเกิดประโยชน์แล้ว ก็มักจะมีการนำความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาใช้ในด้านทางลบ หรือด้านมืด ก่อเกิดโทษ และความเสียหาย วุ่นวาย ดังคำกล่าวที่ว่า “ อะไรที่มีคุณอเนกอนันต์ ก็ย่อมมีโทษมหันต์ ” ซึ่งส่งผลกระทบในด้านความมั่นคงเช่นกัน ดังนั้นการพัฒนาของเทคโนโลยีจากอดีตสู่ปัจจุบัน จึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทั้งทางด้านทางบวกและทางลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ( National Security )    ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร ประเทศใดมีความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า ย่อมจะได้เปรียบในเรื่อง ของศักยภาพ ( Potential )   และพลังอำนาจ  ( Power ) ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร ในด้านการเมืองก็จะทำให้เกิดเสถียรภาพและความมั่งคงทางการเมือง เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่น ความเชื่อถือของรัฐบาลในการปกครองและบริหารประเทศ การเจรจาต่อรองและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ( National Interest ) ด้านเศรษฐกิจ จะเห็นได้ชัดเจนในด้านการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ด้านสังคม ก็จะเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและภูมิคุ้มกันให้กับประชากร ส่วนด้านการทหาร ก็จะเป็นการเสริมสร้างศักย์สงคราม และพลังอำนาจด้านการรบที่สูงกว่า เช่น ถ้าประเทศใดมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านทางทหาร เช่น ระบบลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ ระบบแจ้งเตือน ระบบป้องกัน ระบบควบคุมบังคับบัญชา และระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ทันสมัยกว่าอีกประเทศหนึ่ง ความได้เปรียบ และอำนาจกำลังรบย่อมจะสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่ด้อยกว่า และเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ มักจะหนีไม่พ้นกับโลกไซเบอร์ ( Cyber Space )